เดือน: ธันวาคม 2019

ประเพณีลอยโคม

ประเพณีลอยโคม

      ประเพณีลอยโคม หากจะพูดถึงประเพณีไทยที่ขึ้นชื่อ และเลื่องลือในด้านของความสวยงามประเพณีหนึ่งที่จะไม่กล่าวถึงไม่ได้เลยก็คือ “ประเพณีลอยโคม” เพราะช่วงเวลาที่โคมที่ถูกปล่อยให้ลอยขึ้นไปสู่ท้องฟ้านั้นจะเกิดเป็นภาพที่สวยงามที่ทุกคนไม่อาจจะลืมภาพแห่งช่วงเวลานั้นไปได้เลย ซึ่งในส่วนช่างภาพหลายคนต่างก็รอคอยช่วงเวลานี้เพื่อที่จะได้ถ่ายเก็บภาพสวยๆเหล่านี้เพื่อนำไปเป็นผลงานของตนเอง

 “ประเพณีลอยโคม” นั้นเป็นประเพณีของทางภาคเหนือ

เป็นประเพณีพื้นบ้านที่เกิดขึ้นโดยชาวล้านนาจะมีการจัดประเพณีขึ้นในวันเพ็ญเดือน12 โดยที่การลอยโคมในแบบของชาวล้านนานั้นจะไม่ใช่การลอยโคมให้ลอยไปตามสายน้ำ หรือว่าเป็นการลอยกระทง

แต่การลอยโคมของชาวล้านนาจะเป็นการลอยโคมที่จะถูกปล่อยลอยขึ้นไปในอากาศ

ซึ่งตามประเพณีแล้วมีความเชื่อกันว่าเมื่อได้ทำการปล่อยโคมลอยขึ้นฟ้าจะเป็นการได้ปลดปล่อยความทุกข์ความโศกรวมไปถึงเรื่องร้ายๆที่ได้ผ่านเข้ามาในชีวิตของเราให้หลุดออกไปจากตัว และถือได้ว่าเป็นการได้บูชาหรือแสดงความกตัญญู กตเวทีต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วนั่นเอง

จากความเชื่อเกี่ยวกับพระธาตุแก้วจุฬามณี

ที่เชื่อกันว่าที่นั่นเป็นที่ที่บรรจุมวยผมของพระพุทธเจ้าที่ได้ทำการตัดออกก่อนออกผนวชโดยที่เจดีย์อยู่ที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั่นเอง จึงเกิดเป็นความเชื่อว่าชาวล้านนาที่เกิดในปีจอจะต้องใช้โคมลอยนี้ในการบูชาพระธาตุเกศแก้วจุฬามณี

โดยจะต้องทำการปล่อยโคมลอยไปให้ไกลที่สุด โดยในวันงานที่จัดประเพณีลอยโคมนั้นจะจัดให้มีการจุดไฟโคมแล้วทำการปล่อยขึ้นไปบนท้องฟ้าซึ่งจะทำให้ท้องฟ้ายามค่ำคืนในวันนั้นสว่างไสวเต็มไปด้วยแสงไฟจากโคมลอยมีความสวยงาม

อีกทั้งประเพณีนี้ก็ได้กลายเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้นทั้งในหมู่คนไทย และชาวต่างชาติเองต่างก็ให้ความสนใจอยากจะมาเห็นในความสวยงามที่เป็นดังเอกลักษณ์ของประเพณีไทยอย่างประเพณีการลอยโคมนี้กันเป็นอย่างมาก

แต่ในปัจจุบันนั้นประเทศไทยของเราได้มีการรณรงค์เรื่องการปล่อยโคมลอยในประเพณีการลอยโคม

ลอยกระทง รวมไปถึงมีหลายๆคนได้ออกมาห้ามไม่ให้ทำการปล่อยโคมลอยนี้อีก สาเหตุนั้นเนื่องมาจากว่ามีผู้ได้รับความเดือดร้อน และเสียหายจากดคมลอยที่ไปตกตามสถานที่ต่างๆจนเกิดเป็นปัญหาใหญ่อย่างอัคคีภัยขึ้นทั้งในพื้นที่ชุมชน

และในพื้นที่ทางเกษตรกรรมที่ชาวบ้านใช้ในการทำมาหากินกันชีวิตประจำวันนั่นเอง ทั้งนี้อีกหนึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือปัญหาขยะจากโคมลอยที่ดับแล้วไปตกนั้นมีเป็นจำนวนมากจนเกิดเป็นกองขยะและสร้างปัญหาให้ชาวบ้านหลายๆคน

         อย่างไรก็ตามการได้สืบทอดประเพณีที่มีความสวยงามเช่นนี้ก็ถือเป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้าหากผลจากการจัดประเพณีปล่อยโคมลอยนี้ให้ผลเสียมากกว่าผลดี เราทุกคนก็ควรมีการรณรงค์และร่วมมือร่วมใจกันที่จะไม่ปล่อยโคมลอยนี้ให้ไปเกิดเป็นอัคคีภัยที่จะทำให้ชีวิตมนุษย์ สัตว์ป่า และทรัพย์สิน รวมไปถึงทรัพยากรทางธรรมชาตินั้นเสียหายจากน้ำมือมนุษย์อย่างเราๆอีกเลยจะเป็นการดีกว่า

ถกลเกียรติ วีวรรณ หนึ่งในผู้กำกับไทยที่รู้จักกันดี

ถกลเกียรติ วีวรรณ หนึ่งในผู้กำกับไทยที่รู้จักกันดี สุดยอดตำนานผู้กำกับหนังซิตคอม ชื่อกระฉ่อน อาจจะเป็นเหล่าซิตคอมที่เก่าไปหน่อยแต่บอกเลยว่า ยาวนานหลายทศวรรตเลยทีเดียว

      ถกลเกียรติ วีวรรณ หนึ่งในผู้กำกับไทยที่รู้จักกันดี แล้วก็ส่วนมากเป็นซิตคอมที่แจ้งเกิดให้กับดาราหลายๆคน จนดังได้จนถึงทุกวันนี้ นี่ก็ต้องยกความดีความชอบให้ผู้กำกับคนนี้เลย พี่ถกลเกียรติ วีรวรรณ ถึงจะเป็นผู้กำกับซิตคอม ไม่ได้กำกับหนังโรงก็ตาม แต่ฝีมือก็โดดเด่นคงที่สร้างเรทติ้งได้มากมายให้กับช่อง แล้วก็ยังมีผลงานการกำกับละครเวทีอีกด้วยซึ่งก็เป็นกระแสไม่น้อยเลยทีเดียว

       พูดถึงซิตคอม ก็ต้องบอกได้ว่า อยู่คู่กับคนไทยทั้งประเทศทุกยุคทุกสมัยเหมือนๆกับละครช่องเลยล่ะ แต่ว่าจะได้เรื่องความเบาสมอง ตลกขบขัน แล้วก็ยังสร้างสีสันให้กับชีวิตวัยต่างๆได้อย่างดี ซิตคอมที่เป็นผลงานของผู้กำกับคนนี้ ที่จะไม่พูดถึงไม่ได้เลยก็คือ 3 หนุ่ม 3 มุม สุดยอดซิทคอมจริงๆ

       ที่ได้ดาราที่เป็นตำนานของวงการการแสดงอยู่ตลอดไปอย่าง พี่กบ ทรงสิทธิ์ พี่แท่ง ศักดิ์สิทธิ์ แล้วก็น้องเล็กอย่าง พี่มอส ปฏิภาณ ซึ่งออกอากาศไปทั้งหมด 398 ตอน โอ้วแม่เจ้า ตั้งแต่ปี 2534 ยัน 2541 กินเวลาไป 7 ปี

ถ้าเป็นสมัยนี้ก็คงเรียกว่า 7 seasons กระมั้ง ตามมาด้วยซิตคอม บางรักซอย9 ที่ได้พี่แท่ง ศักดิ์สิทธิ์ มาเป็นพระเอกประกบคู่กับ อ้อม พิยดา นางเองสาวสวยตลอดการของวงการบันเทิงเช่นกัน

 

       เรื่องนี้ก็นำเสนอการดำเนินชีวิตของพี่แท่งเรานั้นเอง กินเวลาไปหลายปีเช่นกัน ตั้งแต่ปี 2546 ถึง 2555 ก็เล่นไปซะ 9 ปี เยอะกว่า 3 หนุ่ม 3 มุม ซะอีก มีจำนวนตอนมหาศาลเลย แค่สองเรื่องนี้ ก็กินเวลาไป 20กว่าปี ก็ต้องถือว่าเป็นผลงานชั่วชีวิตของผู้กำกับคนนี้เลยก็ว่าได้

ไม่ว่ายังไง ต่อให้ซิตคอมได้จบตัวลงไปแล้ว แต่เรื่องราวนั้นก็ยังติดอยู่ในหัวทุกคนที่ได้ดูในยุคนั้นอย่างแน่นอน เนื้อเรื่องที่มีทุกอย่างครบถ้วน และก็สร้างอะไรๆมากมายให้กับสังคมไท

ศิลปะ ประเพณีและวัฒนธรรมอินเดีย

ศิลปะ ประเพณีและวัฒนธรรมอินเดีย

 

ศิลปะ ประเพณีและวัฒนธรรมอินเดีย ที่มีมาอย่างยาวนานตั้งแต่โบราณ เป็นต้นแบบประเพณี ศิลปะและวัฒนธรรมที่แพร่กระจายไปตามที่ต่างๆทั่วโลก อินเดียเป็นประเทศที่ผู้คนต่างให้ความศรัทธาและความเชื่อให้ศาสนาอย่างแรงกล้า เพราะประเทศอินเดียถือเป็นแหล่งกำเนิดศาสนาที่สำคัญของโลกหลายศาสนา และศาสนาพุทธก็เช่นเดียวที่มีอิทธิพลแพร่ขยายเข้ามาสู่แผ่นดินสุวรรณภูมิตั้งแต่โบราณ

นอกจากศาสนาที่ได้รับมาจากประเทศอินเดียแล้ว ทั้งประเพณีและวัฒนธรรมก็ถูกส่งผ่านมาทางศาสนาอีกด้วย

แม้กระทั่งวรรณกรรมต่างๆที่ถูกเหล่าขานกันมาจนกลายเป็นมรดกล้ำค่าไม่สามารถชมได้ทั่วไปอย่างเช่นโขนโขนเป็นศิลปะทางการแสดงแขนงหนึ่งที่มีต้นกำเนิดเรื่อง จากวรรณที่เป็นอมตะอย่างรามเกียรติซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากรามายณะวรรณคดีมหากาพย์ที่เล่าขานสืบต่อกันมายาวนานหลากหลายพื้นที่ของชมพูทวีป

การแสดงโขนจะแสดงเพียงรามเกียรติเพียงเรื่องเดียวเท่านั้น และจะแบ่งแยกออกเป็นตอนๆไป ศิลปะการแสดงโขนไม่ได้ถูกแสดงในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังมีการแสดงแบบนี้ในลักษณะเดียวกันนี้กะจายไปตามที่ต่างๆในแทบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างเช่นในประเทศหกัมพูชา และอินโดนีเซียก็มีการแสดงโขนเช่นเดียวกัน

ดังนั้นจึงถือได้ว่าประเทศอินเดียเป็นแหล่งอารยธรรมที่มีอิทธิพลอย่างในแทบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเรา 

นอกจากวรรณกรรมที่ถูกถ่ายทอดและส่งต่อไปยังสถานที่ต่างๆทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว

ปติมากรรมต่างๆ ทั้งภาพวาด การปั้น หรือแม้โบราณสถานต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้นก็ยังได้รับอิทธิพลมากจากประเทศอินเดีย ปติมากรรมที่แสดงได้อย่างเด่นชัด และทรงอิทธิพลทางด้านวัฒนธรรมอย่างแท้จริงนั่นก็คือรูปปั้นพระพุทธรูปพระพุทธรูปถือเป็นตัวแทนขององค์ศาสดาแห่งศาสนาพุทธที่ถูกรังสรรค์ขึ้นเป็นตัวแทนของพระพุทธองค์

เพื่อเอาไว้เป็นสักการะบูชาแก่พุทธศาสนิกชนชาวพุทธ รูปปั้น พระพุทธรูปถูกทำขึ้นและแพร่กระจายไปตามความศรัทของคนที่นับถือศาสนาพุทธ ทั้งในประเทศไทย พม่า และกัมพูชา ที่ประชากรส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาพุทธ

 

ประเพณีต่างๆที่ถูกสืบทอดกันมาอย่างช้านาน การนับถือศาสนาและความเชื่อที่ถูกส่งต่อมานั้น ไม่เพียงแค่ถูกต่อทางความเชื่ออย่างเดียวและยังถูกถูกถ่ายทอดวิถีปฏิบัติ การนับถือการบูชา ประเพณีที่เห็นได้อย่างเด่นชัดในไทยที่เป็นพิธีกรรมความเชื่อความศรัมธาของผู้คนในไทยที่มีต่อเทพเจ้าฮินดูนั่นก็คืองานนวราตรีเป็นพิธีกรรมที่ถูกเกิดจากแรงศรัทธาของผู้ที่นับถือพระแม่อุมาเทวีเป็นพิธีกรรมที่จัดขึ้นเพื่อสรรเสริญในพระบารมีของพระแม่อุมาเทวี เพื่อขอพรและให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ปกปักรักษา เป็นความเชื่อส่งถูกถ่ายทอดมาจากศาสนาพาร์มฮินดู ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย ซึ่งงานจะถูกจัดขึ้นในทุกๆปีบริเวณห้าวัดแขก และถูกแห่ไปตามทางถนนเส้นสีลม เพื่อเป็นการบูชาและสรรเสริญพระแม่อุมาเทวีทั้ง 9 ปาง เหตุที่จะต้องจัดงานขึ้นในช่วง วันที่ 10-19 ตุลาคม ของทุกปีนั้น เพราะเชื่อกันว่าช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่คนส่วนใหญ่มักจะประสบปัญหา เคราะห์กรรม โรคร้ายต่างๆ หรือถึงขั้นสูญเสียสิ่งที่รักในชีวิตไป และเพื่อความร่มเย็นและเป็นสิริมงคลและช่วยคุ้มครองชีวิตตนเองและคนที่รัก จึงจำเป็นต้องปฏิบัติพืธีกรรมนี้อย่างบริสุทธิ์ใจ